ถ้าพูดถึงคำว่าเว็บไซต์หลายคนน่าจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วแต่พอเติมเข้ามาเป็น Website E-Commerce หลายคนอาจยังไม่เข้าใจแบบลึกซึ้งว่าคืออะไรกันแน่ แต่ยุคนี้จะหยุดนิ่งอยู่กับที่ไม่ได้ทำอะไรต้องทันเทรนหรือนำเทรนเสมอวันนี้เราเลยอยากมาแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับ Website E-Commerce ให้ใครที่ยังไม่รู้ได้รู้จักกัน ส่วนใครที่พอจะคุ้นเคยอยู่บ้างแล้วก็ลองมาทบทวนวิชาแล้วนำทริคดี ๆ ไปต่อยอดกันดีกว่า มาดูกันว่าเรื่องราวเกี่ยวกับ Website E-Commerce จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง หยิบจุดไหนขึ้นมาทำให้ปังได้บ้าง ถึงเวลามาผันตัวเป็นเซียนกันแล้ว
Website E-Commerce คืออะไร?
ขอเริ่มต้นด้วยเรื่องราวพื้นฐานสุด ๆ กันก่อนเลยดีกว่า เพราะการเข้าใจอะไรสักอย่างแบบลึกซึ้งจะช่วยทำให้คุณสามารถต่อยอดและผุดไอเดียใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ดีกว่า
ชื่ออย่างเป็นทางการของ Website E-Commerce ก็คือ เว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นั่นเอง และตามนั้นเลยว่าใช้เพื่อเป็นช่องทางสื่อให้กับบรรดาธุรกิจต่าง ๆ นั่นเอง ส่วนใหญ่ก็เน้นเพื่อให้ขายสินค้าได้ในงบประมาณการลงทุนที่ลดลงนั่นเอง เพราะบางธุรกิจไม่ต้องมีหน้าร้าน ไม่ต้องมีพนักงานเยอะ ไม่ต้องทำสื่อสิ่งพิมพ์ให้มากมายก็สามารถเริ่มกิจการได้ด้วยช่องทางนี้ แถมยังลดต้นทุนเวลาไปได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
ข้อดีที่เหมาะกับยุคสมัยแบบนี้ทำให้ Website E-Commerce มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดไม่หย่อนกันเลยทีเดียว ซึ่งยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่าไรแนวทางการพัฒนาก็ยิ่งน่าสนใจมากขึ้นเท่านั้น นี่คือเหตุผลที่ถ้าคุณทำธุรกิจก็ควรเข้าใจ Website E-Commerce อย่างลึกซึ้ง
Website E-Commerce คือตัวแทนของหลายอย่างในโลกธุรกิจ
การลดต้นทุนและเพิ่มยอดการขายน่าจะเป็นสิ่งที่ทุกธุรกิจต้องการ ซึ่งนี่ก็เป็นการบ้านที่ทุกธุรกิจต้องหาคำตอบในทุก ๆ วัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่กลายเป็นโจทย์สำคัญที่จะนำพาคำตอบส่วนหนึ่งที่คุณต้องการมาไว้ตรงหน้าเรียบร้อยแล้วก็คือ Website E-Commerce นั่นเอง วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟังว่าถ้าคุณมี Website E-Commerce ที่มีประสิทธิภาพจะสามารถลดต้นทุนและทำให้เว็บไซต์นี้กลายเป็นตัวแทนอย่างมีประสิทธิภาพของอะไรได้บ้าง
1. แทนพนักงานในหลากหลายตำแหน่ง
อาจเป็นเรื่องที่ทำใจได้ยากหากคุณมีพนักงานอยู่แล้วแต่จำเป็นต้องให้ระบบ Website E-Commerce มาแทนในบางตำแหน่ง แต่ถ้าคุณกำลังเริ่มต้นด้วย Website E-Commerce ตั้งแต่แรกแล้วล่ะก็ต้นทุนของคุณจะลดลงไปได้ไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะไม่ว่าจะเป็นพนักงานขาย พนักงานนับสต็อก หรือตำแหน่งอื่น ๆ ก็จะสามารถลดลงอยู่ในอัตราที่ต่ำเลยทีเดียว ซึ่งหมายความว่า Fix Cost ของคุณได้ลดลงอย่างสวยงามแล้ว
2. แทนหน้าร้านที่คุณต้องลงทุน
ระหว่างการเสียงบประมาณเพื่อทำ Website E-Commerce กับทำหน้าร้านเพื่อขายของมีงบประมาณที่แตกต่างกันเป็นอย่างมากไหนจะเป็นค่าซ่อมบำรุงอีก การเริ่มต้นเปิดหน้าร้านบนช่องทางออนไลน์แบบนี้ช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่าในต้นทุนที่น้อยกว่าแถมยังสามารถลดข้อจำกัดในเรื่องของเวลาไปได้อีกแน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มยอดขายให้กับคุณได้เป็นอย่างดี ลองคิดดูว่าถ้าคุณอยากได้หูฟังไร้สายตอนตี 2 จะซื้อที่ไหนได้อีกถ้าไม่ใช่การซื้อผ่านช่องทางออนไลน์
3. แทนการเดินทางไปขายของ
Website E-Commerce เป็นตัวแทนแห่งการลดต้นทุนในหลาย ๆ เรื่องได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะเรื่องของการเดินทาง เจ้าของกิจการหรือพนักงงานขายก็ไม่ต้องเดินทางไปขายเพียงแค่ใช้ข้อมูลบนหน้าเว็บบอกเล่าแทนและเพิ่มระบบบริการออนไลน์ผ่านการแชท ส่วนลูกค้าก็ไม่ต้องเปลืองน้ำมันหรือเสียเวลาไปที่ร้านค้าอยากได้อะไรก็แค่กดเข้าไปในเว็บทุกข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าถูกเตรียมเอาไว้ต้อนรับเป็นที่เรียบร้อย แบบนี้วินวินทั้งสองฝ่ายเลยทีเดียว
4. แทนระบบการจ่ายเงิน
เงินจะฝากเข้าสู่บัญชีของกิจการแบบอัตโนมัติ สามารถตรวจสอบทุกอย่างได้อย่างรวดเร็ว ลดเรื่องของข้อผิดพลาดลงไปได้เยอะเลยทีเดียว
5. แทนสื่อสิ่งพิมพ์ที่อาจสร้างมลภาวะ
ลูกค้าสามารถดูข้อมูลสินค้าผ่านทางหน้าเว็บไซต์ได้เลยและเป็นคนที่สนใจในสินค้าของคุณจริง ๆ เสียด้วย การคลิกดูข้อมูลต่าง ๆ ของลูกค้ายังสามารถสร้างฟีเจอร์เพื่อเก็บสถิตินำมาใช้วิเคราะห์ทางการตลาดได้อีกด้วย มีข้อดีกว่าการแจกใบปลิว แคตาล็อกไปทั่ว ๆ โดยอาจถูกโยนทิ้งถ้าไปอยู่ในมือของคนที่ไม่ได้สนใจสินค้าของคุณ
ถ้าจะทำ Website E-Commerce ต้องโฟกัสอะไรบ้าง?
1. เข้ามาแล้วต้องซื้อง่าย ขายคล่อง
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความสบายตาเป็นเรื่องสำคัญ การเข้าเว็บไซต์เพื่อไปซื้อของแล้วเจอข้อมูลอ่านง่าย ภาพสวย มีฟีเจอร์แนะนำเปรียบเทียบที่น่าสนใจ คลิกไปส่วนต่าง ๆ ได้แบบไม่งงเพราะมีการจัดหมวดหมู่ที่ดี การใช้เว็บเป็นไปอย่างลื่นไหล มีส่วนทำให้ลูกค้ามีความสุขและซื้อสินค้าของคุณได้มากขึ้น ดังนั้นการใส่ใจกับส่วนนี้เป็นอันดับแรกจะช่วยทำให้การขายของคุณประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น
2. ไม่ใช่แค่หน้าจอคอมพิวเตอร์แต่ทุกหน้าจอต้องสะดวก
ไลฟ์สไตล์ตอนนี้เป็นที่รู้กันดีว่ามีอุปกรณ์เพิ่มขึ้นมาหลากหลาย การดีไซน์หน้าเว็บให้สามารถดูได้อย่างสะดวกสบายในทุกอุปกรณ์มีส่วนช่วยให้คุณขายดีขึ้นได้ แถมถ้าคุณพัฒนา Website E-Commerce ให้เป็น Responsive Website ได้ก็มีประโยชน์พ่วงมาคือการติดอันดับการค้นหาใน Search Engine อันดับ 1 อย่าง Google นั่นเอง
3. ภาพชัดขายง่าย
แม้ของคุณจะดีจริงแต่ถ้าถ่ายภาพออกมาได้ไม่น่าสนใจอาจทำให้ยอดขายไม่เป้นไปอย่างที่คิด อย่าลืมว่าการซื้อของออนไลน์ลูกค้าไม่ได้สัมผัสและเจอสินค้ากับตัว การถ่ายรายละเอียดให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนได้สัมผัสกับตาเห็นถึงจุดเด่นและความสวยงามช่วยเพิ่มยอดการสั่งซื้อเข้ามาได้ แถมรูปยังสามารถนำไปโฆษณาในพื้นที่ออนไลน์อื่น ๆ ได้อีกด้วย การถ่ายภาพที่สวยงามถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าอย่างแน่นอน
คุณต้องการเป็น Website E-Commerce แบบไหน?
หลัก ๆ แล้ว Website E-Commerce จะมีด้วยกัน 5 แบบคือ Business to Consumer – B2C, Business to Business – B2B, Consumer to Consumer – C2C, Business to Government – B2G และ Government to Consumer -G2C แต่ที่น่าจะเป็นสิ่งที่เว็บทั่วไปทำก็คือ 3 แบบนี้
1. Business to Consumer – B2C คือ คนขายเจอกับลูกค้าโดยตรง แน่นอนว่านี่คือรูปแบบของ Website E-Commerce ที่นิยมทำกันมากที่สุด เน้นการค้าขายทั่วไปไม่มีความซับซ้อนมากเท่าไรนัก ใคร ๆ ก็สามารถเป็นเจ้าของกิจการได้
2. Business to Business – B2B คือ คนขายทำการซื้อขายกันเอง ส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องของการซื้อขายวัตถุดิบ อุปกรณ์ต่าง ๆ และมักจะดีลกันระยะยาว ซึ่งเมื่อทำการซื้อขายผ่าน Website E-Commerce ช่วยให้ขั้นตอนหลาย ๆ อย่างลดลงและง่ายดายขึ้นได้
3. Consumer to Consumer – C2C คือ การที่ลูกค้าซื้อขายกันเอง มักจะเน้นการแลกเปลี่ยนทั้งทางข้อมูลและสินค้า อย่างเช่น ขายกระเป๋า รองเท้า ของสะสมหายาก เรียกว่าเป็นการรวมกลุ่มคนคอเดียวกันก็ว่าได้
นี่คือ 3 แบบหลัก ๆ ที่พวกเราเน้นใช้เพื่อทำ Website E-Commerce ที่เหลือจะเป็นองค์กรภาพรัฐซึ่งอาจมีรายละเอียดมากกว่า ดังนั้นวันนี้คุณลองวางตำแหน่งว่าคุณจะเป็นใครและซื้อขายกับใครแล้วเริ่มลุยตลาด Website E-Commerce กันเลยดีกว่า